1. มนุษย์สัมพันธ์มีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญต่อองค์การอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ มนุษย์สัมพันธ์หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การใดองค์การหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้องค์การนั้นหรือสังคมนั้นบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ ซึ่งมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษย์สัมพันธ์อันดี กับมนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี ถ้ามีมนุษย์สัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมดังกล่าวมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกัน และมีความเข้าใจอันดีต่อกัน ร่วมมือกันประสานงานช่วยเหลือแบ่งปันกัน แต่ถ้ามนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี บุคคลในองค์การหรือสังคมนั้นมักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกันไม่ร่วมมือกัน ไม่ช่วยเหลือต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกัน ส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรือสังคมนั้นๆเกิดความเสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุข ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆไม่มากก็น้อย
2. กลุ่มงานที่มีความสัมพันธ์อันดี มีลักษณะที่ดีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ 1. มีการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย โดยทุกคนต่างมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นต่องาน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งการทำงานร่วมกันในแบบประชาธิปไตยจะช่วยเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในหน่วยงานได้
2. มีความไว้วางใจและเชื่อใจในความสามารถซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและเชื่อถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ไม่ก้าวก่ายกัน เพราะการก้าวก่ายมักก่อให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างผลเสียมากกว่าผลดี
3. มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงาน สามารถสร้างความเข้าใจในงานร่วมกันและยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกันด้วย ถ้ามีการติดต่อสื่อสารที่ดีจะมีส่วนส่งเสริมประสิทธิภาพของงานในการทำงานอยู่ร่วมกันในกลุ่มงานที่ดีนั้น มักใช้การสื่อสารสองทางหรือหลายทางมากกว่าการสื่อสารทางเดียว
4. มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสม การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน จักว่าเป็นการให้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ซาบซึ้งใจพึงพอใจเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้ในขอบเขตที่เหมาะสม
5. มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ คือ มีระบบงานที่ดี มีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่และมีขอบข่ายงานที่กำหนดเด่นชัด การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และมีการร่วมมือประสานงานกันเป็นอย่างดี มักส่งผลให้งานสำเร็จและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย
6. มีการร่วมมือที่ดี เป็นพฤติกรรมของกลุ่มที่มีลักษณะไปในทางเดียวกันของสมาชิกกลุ่ม คือแต่ละบุคคลจะได้รับความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายก็ต่อเมื่อกลุ่มได้รับความสำเร็จ ดังนั้นจึงจัดได้ว่าในการทำงานร่วมกันนั้น ถ้าทำให้ทุกคนร่วมมือกันทำเพื่อให้กลุ่มทำงานสำเร็จได้ ก็จัดว่ากลุ่มดังกล่าวมีความสามัคคีและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
7. ผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะที่เอื้อต่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี คือมีลักษณะส่วนตัวที่พร้อมอยู่แล้วก็ย่อมส่งผลให้การทำงานกลุ่มเป็นไปด้วยไมตรีอันดี เช่นสมาชิกกลุ่มมีความสมัครใจในการทำงานนั้นรู้สึกมีส่วนร่วมในกลุ่ม รู้วิธีดำเนินงานกลุ่ม รู้นโยบายและเป้าหมายของงาน มีความเป็นกันเองคบคนง่ายมีลักษณะให้กำลังใจผู้อื่น ฯลฯ ด้วยลักษณะของสมาชิกกลุ่มดังกล่าวนี้ มักส่งผลให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
3. แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ควรปฏิบัติอย่างไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ 1. ให้ความสนใจเพื่อร่วมงาน คือบุคคลส่วนใหญ่ชอบให้ผู้อื่นสนใจ ดังนั้น จึงควรให้ความสนใจเพื่อนร่วมงานโดยการทักทายปราศรัย ถามในสิ่งดีๆ ของเพื่อนร่วมงาน
2. ยิ้มแย้ม คือการยิ้มของบุคคลที่ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง มักถึงแสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชื่น ชอบพอ รักใคร่ จึงเห็นได้ว่าการยิ้มเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพโดยไม่จำกัดสถานะ
3. แสดงการจำได้ วิธีการแสดงการจำได้ เช่น จำชื่อ จำเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ดีๆ ที่เคยเกี่ยวข้องกันกับความสำเร็จที่เพื่อนได้รับ จำวันเกิด วันสมรสของเพื่อนได้
4. เป็นคู่สนทนาที่ดี การแสดงตนเป็นคู่สนทนาที่ดีของเพื่อนร่วมงานนั้น อาจโดยทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี ปล่อยให้อีกฝ่ายได้พูดคุยตามความต้องการของเขา ทั้งนี้โดยต้องฟังอย่างตั้งใจฟังเพื่อให้จับใจความได้และตอบสนองตอบคำพูดของคู่สนทนา
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คือไม่ผูกขาดอยู่กับความคิดของตนเองข้างเดียว ผู้ที่ผูกขาดความคิดเห็นของตนมักเป็นคนที่ชอบเอาชนะเมื่อแสดงความคิดเห็น ถือเอาความเห็นของตนว่าสำคัญกว่าความเห็นของผู้อื่น มักโต้แย้งความเห็นของผู้อื่น ฯลฯ การแสดงต่อผู้อื่น โดยวิธีนี้มักทำให้ขาดเพื่อน ไม่มีใครอยากคบหาสมาคม หัวหน้างานก็มักไม่อยากมอบหมายงานให้ทำงานสำคัญ
6. แสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อนร่วมงานของเรานั้น บางคนมีอาวุโสด้านอายุอาจสูงส่งด้วยชาติตระกูล อาจมีความรู้สูง อาจมีทักษะประสบการณ์เหนือผู้อื่น หรืออาจมีตำแหน่งงาน เหนือใครอยู่บ้าง ผู้มีจิตใจสูง มีวุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ ควรให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนร่วมงานตามสถานภาพนั้นๆ
7. แสดงความมีน้ำใจ ซึ่งการมีน้ำใจต่อผู้อื่น อาจแสดงออกได้หลายแนวทาง เช่นการเป็นผู้ให้ ให้ความรัก ให้ความห่วงใย แบ่งปัน ช่วยเหลือ ให้อภัย ให้กำลังใจ คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยซึ่งควรรักษาไว้
8. แสดงความชื่นชมยินดี เนื่องจากเพื่อนร่วมงานแต่ละคนในหน่วยงาน มักมีวันพิเศษหรือเหตุการณ์สำคัญของชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เช่น อาจจะเป็นวันรับรางวัลพิเศษ การได้เหรียญเชิดชูเกียรติ ซึ่งจัดว่าเป็นการแสดงน้ำใจให้ความสนใจ และยอมรับเพื่อนร่วมงานในความสำเร็จนั้นๆด้วย
4. การวางตนตามสถานะและบทบาทในองค์การแบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 3 ระดับ ได้แก่1. การวางตนในการร่วมกับผู้บังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชา มี่ว่าจะอยู่ในระดับใด ต้องถือว่าเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานและเป็นผู้ต้องรับผิดชอบงานในที่ทำงานเหนือกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถือ ให้ความร่วมมือ และเชื่อฟังในสิ่งที่ชอบด้วยเหตุและบทบาทหน้าที่
2. การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกัน ผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับเดียวกัน มักมีอิทธิพลต่อกันและกันในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีบทบาทสูงต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด และงานหลายงานก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือและน้ำใจช่วยเหลือกัน ดังนั้น การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันนั้น จึงต้องวางตนโดยเป็นผู้ให้ให้มากที่สุด
3. การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยการคำนึงอยู่เสมอว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคือฝ่ายปฏิบัติงานในหน่วยงาน เปรียบเสมือนมือและเท้าของผู้บริหาร ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความสุขในการทำงานก็มักส่งผลเสียต่องาน และมีผลกระทบทางลบมาถึงผู้บังคับบัญชาได้ในที่สุด นอกจากนั้น ผลงานของลูกน้องทุกคนทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วก็คือผลงานของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจึงควรต้องให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ผลงานดี และมีบรรยากาศของความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย
วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551
งานที่ 1 หลากมารยาทดี ๆ ในที่ทำงาน
การรู้จักกาลเทศะ มีมารยาทและวางตัวดีในที่ทำงานจะช่วยให้การงานราบรื่น ช่วยผ่อนความเครียดที่อาจเกิดจากคนรอบข้างได้ มันไม่ง่ายเลยใช่มั้ยคะกับการทำงานกับคนมากมายทุกๆ วันโดยที่คนเหล่านั้นไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่รู้จักคบหากันมาก่อน ดังนั้นการเรียนรู้มารยาท และการวางตัวในที่ทำงาน ก็จะช่วยให้การงานราบรื่นขึ้น ลองนำเคล็ดลับไปใช้ดูซีคะ
1. ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัวคุณควรรอให้อนุญาติให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์
2. พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไรหากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตุขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน
3. ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงานคุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง
4. หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดีขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้
5. จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ยหากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที
6. ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่นคุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์
7. เจอเพื่อนร่วมงานกลางทางให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย
8. ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุมเพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม
9. การโต้ตอบอีเมลควรตรวจเช็กและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระว้ง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท
ที่มา http://www.citylifefm.com/cityboard/viewtopic.php?t=4760
1. ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัวคุณควรรอให้อนุญาติให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์
2. พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไรหากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตุขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน
3. ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงานคุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง
4. หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดีขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้
5. จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ยหากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที
6. ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่นคุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์
7. เจอเพื่อนร่วมงานกลางทางให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย
8. ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุมเพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม
9. การโต้ตอบอีเมลควรตรวจเช็กและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระว้ง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท
ที่มา http://www.citylifefm.com/cityboard/viewtopic.php?t=4760
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)