1. มนุษย์สัมพันธ์มีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญต่อองค์การอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ มนุษย์สัมพันธ์หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การใดองค์การหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้องค์การนั้นหรือสังคมนั้นบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ ซึ่งมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษย์สัมพันธ์อันดี กับมนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี ถ้ามีมนุษย์สัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมดังกล่าวมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกัน และมีความเข้าใจอันดีต่อกัน ร่วมมือกันประสานงานช่วยเหลือแบ่งปันกัน แต่ถ้ามนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี บุคคลในองค์การหรือสังคมนั้นมักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกันไม่ร่วมมือกัน ไม่ช่วยเหลือต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกัน ส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรือสังคมนั้นๆเกิดความเสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุข ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆไม่มากก็น้อย
2. กลุ่มงานที่มีความสัมพันธ์อันดี มีลักษณะที่ดีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ 1. มีการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย โดยทุกคนต่างมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นต่องาน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งการทำงานร่วมกันในแบบประชาธิปไตยจะช่วยเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในหน่วยงานได้
2. มีความไว้วางใจและเชื่อใจในความสามารถซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและเชื่อถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงาน ไม่ก้าวก่ายกัน เพราะการก้าวก่ายมักก่อให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างผลเสียมากกว่าผลดี
3. มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงาน สามารถสร้างความเข้าใจในงานร่วมกันและยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวกันด้วย ถ้ามีการติดต่อสื่อสารที่ดีจะมีส่วนส่งเสริมประสิทธิภาพของงานในการทำงานอยู่ร่วมกันในกลุ่มงานที่ดีนั้น มักใช้การสื่อสารสองทางหรือหลายทางมากกว่าการสื่อสารทางเดียว
4. มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสม การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน จักว่าเป็นการให้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ซาบซึ้งใจพึงพอใจเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้ในขอบเขตที่เหมาะสม
5. มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ คือ มีระบบงานที่ดี มีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่และมีขอบข่ายงานที่กำหนดเด่นชัด การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และมีการร่วมมือประสานงานกันเป็นอย่างดี มักส่งผลให้งานสำเร็จและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย
6. มีการร่วมมือที่ดี เป็นพฤติกรรมของกลุ่มที่มีลักษณะไปในทางเดียวกันของสมาชิกกลุ่ม คือแต่ละบุคคลจะได้รับความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายก็ต่อเมื่อกลุ่มได้รับความสำเร็จ ดังนั้นจึงจัดได้ว่าในการทำงานร่วมกันนั้น ถ้าทำให้ทุกคนร่วมมือกันทำเพื่อให้กลุ่มทำงานสำเร็จได้ ก็จัดว่ากลุ่มดังกล่าวมีความสามัคคีและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
7. ผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะที่เอื้อต่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี คือมีลักษณะส่วนตัวที่พร้อมอยู่แล้วก็ย่อมส่งผลให้การทำงานกลุ่มเป็นไปด้วยไมตรีอันดี เช่นสมาชิกกลุ่มมีความสมัครใจในการทำงานนั้นรู้สึกมีส่วนร่วมในกลุ่ม รู้วิธีดำเนินงานกลุ่ม รู้นโยบายและเป้าหมายของงาน มีความเป็นกันเองคบคนง่ายมีลักษณะให้กำลังใจผู้อื่น ฯลฯ ด้วยลักษณะของสมาชิกกลุ่มดังกล่าวนี้ มักส่งผลให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน
3. แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ควรปฏิบัติอย่างไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ 1. ให้ความสนใจเพื่อร่วมงาน คือบุคคลส่วนใหญ่ชอบให้ผู้อื่นสนใจ ดังนั้น จึงควรให้ความสนใจเพื่อนร่วมงานโดยการทักทายปราศรัย ถามในสิ่งดีๆ ของเพื่อนร่วมงาน
2. ยิ้มแย้ม คือการยิ้มของบุคคลที่ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง มักถึงแสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชื่น ชอบพอ รักใคร่ จึงเห็นได้ว่าการยิ้มเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพโดยไม่จำกัดสถานะ
3. แสดงการจำได้ วิธีการแสดงการจำได้ เช่น จำชื่อ จำเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ดีๆ ที่เคยเกี่ยวข้องกันกับความสำเร็จที่เพื่อนได้รับ จำวันเกิด วันสมรสของเพื่อนได้
4. เป็นคู่สนทนาที่ดี การแสดงตนเป็นคู่สนทนาที่ดีของเพื่อนร่วมงานนั้น อาจโดยทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี ปล่อยให้อีกฝ่ายได้พูดคุยตามความต้องการของเขา ทั้งนี้โดยต้องฟังอย่างตั้งใจฟังเพื่อให้จับใจความได้และตอบสนองตอบคำพูดของคู่สนทนา
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คือไม่ผูกขาดอยู่กับความคิดของตนเองข้างเดียว ผู้ที่ผูกขาดความคิดเห็นของตนมักเป็นคนที่ชอบเอาชนะเมื่อแสดงความคิดเห็น ถือเอาความเห็นของตนว่าสำคัญกว่าความเห็นของผู้อื่น มักโต้แย้งความเห็นของผู้อื่น ฯลฯ การแสดงต่อผู้อื่น โดยวิธีนี้มักทำให้ขาดเพื่อน ไม่มีใครอยากคบหาสมาคม หัวหน้างานก็มักไม่อยากมอบหมายงานให้ทำงานสำคัญ
6. แสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อนร่วมงานของเรานั้น บางคนมีอาวุโสด้านอายุอาจสูงส่งด้วยชาติตระกูล อาจมีความรู้สูง อาจมีทักษะประสบการณ์เหนือผู้อื่น หรืออาจมีตำแหน่งงาน เหนือใครอยู่บ้าง ผู้มีจิตใจสูง มีวุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ ควรให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนร่วมงานตามสถานภาพนั้นๆ
7. แสดงความมีน้ำใจ ซึ่งการมีน้ำใจต่อผู้อื่น อาจแสดงออกได้หลายแนวทาง เช่นการเป็นผู้ให้ ให้ความรัก ให้ความห่วงใย แบ่งปัน ช่วยเหลือ ให้อภัย ให้กำลังใจ คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยซึ่งควรรักษาไว้
8. แสดงความชื่นชมยินดี เนื่องจากเพื่อนร่วมงานแต่ละคนในหน่วยงาน มักมีวันพิเศษหรือเหตุการณ์สำคัญของชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เช่น อาจจะเป็นวันรับรางวัลพิเศษ การได้เหรียญเชิดชูเกียรติ ซึ่งจัดว่าเป็นการแสดงน้ำใจให้ความสนใจ และยอมรับเพื่อนร่วมงานในความสำเร็จนั้นๆด้วย
4. การวางตนตามสถานะและบทบาทในองค์การแบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 3 ระดับ ได้แก่1. การวางตนในการร่วมกับผู้บังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชา มี่ว่าจะอยู่ในระดับใด ต้องถือว่าเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานและเป็นผู้ต้องรับผิดชอบงานในที่ทำงานเหนือกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา ให้ความเคารพนับถือ ให้ความร่วมมือ และเชื่อฟังในสิ่งที่ชอบด้วยเหตุและบทบาทหน้าที่
2. การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกัน ผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับเดียวกัน มักมีอิทธิพลต่อกันและกันในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีบทบาทสูงต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด และงานหลายงานก็ยังต้องอาศัยความร่วมมือและน้ำใจช่วยเหลือกัน ดังนั้น การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกันนั้น จึงต้องวางตนโดยเป็นผู้ให้ให้มากที่สุด
3. การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยการคำนึงอยู่เสมอว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาคือฝ่ายปฏิบัติงานในหน่วยงาน เปรียบเสมือนมือและเท้าของผู้บริหาร ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความสุขในการทำงานก็มักส่งผลเสียต่องาน และมีผลกระทบทางลบมาถึงผู้บังคับบัญชาได้ในที่สุด นอกจากนั้น ผลงานของลูกน้องทุกคนทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วก็คือผลงานของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจึงควรต้องให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ผลงานดี และมีบรรยากาศของความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย
วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551
งานที่ 1 หลากมารยาทดี ๆ ในที่ทำงาน
การรู้จักกาลเทศะ มีมารยาทและวางตัวดีในที่ทำงานจะช่วยให้การงานราบรื่น ช่วยผ่อนความเครียดที่อาจเกิดจากคนรอบข้างได้ มันไม่ง่ายเลยใช่มั้ยคะกับการทำงานกับคนมากมายทุกๆ วันโดยที่คนเหล่านั้นไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่รู้จักคบหากันมาก่อน ดังนั้นการเรียนรู้มารยาท และการวางตัวในที่ทำงาน ก็จะช่วยให้การงานราบรื่นขึ้น ลองนำเคล็ดลับไปใช้ดูซีคะ
1. ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัวคุณควรรอให้อนุญาติให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์
2. พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไรหากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตุขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน
3. ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงานคุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง
4. หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดีขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้
5. จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ยหากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที
6. ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่นคุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์
7. เจอเพื่อนร่วมงานกลางทางให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย
8. ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุมเพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม
9. การโต้ตอบอีเมลควรตรวจเช็กและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระว้ง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท
ที่มา http://www.citylifefm.com/cityboard/viewtopic.php?t=4760
1. ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัวคุณควรรอให้อนุญาติให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์
2. พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไรหากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตุขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน
3. ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงานคุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง
4. หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดีขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้
5. จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ยหากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที
6. ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่นคุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์
7. เจอเพื่อนร่วมงานกลางทางให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย
8. ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุมเพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม
9. การโต้ตอบอีเมลควรตรวจเช็กและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระว้ง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท
ที่มา http://www.citylifefm.com/cityboard/viewtopic.php?t=4760
งานที่ 2 การพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ
1. เพิ่มพลังสมองเป็น 10 เท่า
จากผลการทดลองพบว่า 90% ของกำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ และมักจะใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง ดังเช่นการทำงานของคอมพิวเตอร์ ถ้าใส่ software ที่ผิด ผลการคำนวณก็ออกมาผิดถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ในทางทฤษฎีพบว่า "สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลที่มีความสลับซับซ้อนได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์" ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราก็น่าจะเรียนรู้อะไรได้เร็ว มีความจำเป็นเลิศ แต่ในชีวิตจริงทำไมกลับตรงกันข้าม หรือเป็นเพราะเราไม่รู้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรียนรู้ช้าและปัจจัยอะไรที่ทำให้เรียนรู้ได้เร็ว เมื่อคุณพบคำตอบ คุณอาจค้นพบตัวเองก็ได้
2. ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า
เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิดให้คิดในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีตหรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตัวเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเองเข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า คิดไม่ชัดเจนหรือคิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ
3. ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว
1. เปลี่ยนความคิดจากทางลบ (Negative) มาเป็นทางบวก (Positive)
- ทำงานอย่างมีเป้าหมาย ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น
- ต้องรู้ระบบความคิดของตนเองก่อนว่าความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้ เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น- ตัดความคิดในทาง Negative ทิ้งแล้วใส่ความคิดในทาง Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น
2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจจากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือการสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิดทาง Negative ได้ชั่วคราว
3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใดถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากการพูดคุยกับผู้อื่น การอ่าน ต้องคิดหาตรรกะ (logic) ด้วยตนเอง ต้องเห็นด้วยตา ถ้าฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประิสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า - รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว- ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด
4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมองจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะสูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำนอกจากจะทำให้มีความสดชื่น กระตือรือร้นแล้ว เมื่อออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมองทำงาน (function) ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ สมองส่วนซ้าย ส่วนขวา และส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้สามารถใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วน ได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว
6. ควรเข้าใจการทำงานของสมองการทำงานของสมองในส่วนความจำจำทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้- ช่วงเช้า ความจำระยะสั้น
- ช่วงบ่าย ความจำระยะยาว
- ก่อนนอน ความจำเกี่ยวกับตัวเลข
4. ทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้
ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดี จากการพูดคุยหรือจากการอ่าน เป็นต้น ดังนั้น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังนี้
จากผลการทดลองพบว่า 90% ของกำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ และมักจะใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง ดังเช่นการทำงานของคอมพิวเตอร์ ถ้าใส่ software ที่ผิด ผลการคำนวณก็ออกมาผิดถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ในทางทฤษฎีพบว่า "สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลที่มีความสลับซับซ้อนได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์" ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราก็น่าจะเรียนรู้อะไรได้เร็ว มีความจำเป็นเลิศ แต่ในชีวิตจริงทำไมกลับตรงกันข้าม หรือเป็นเพราะเราไม่รู้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรียนรู้ช้าและปัจจัยอะไรที่ทำให้เรียนรู้ได้เร็ว เมื่อคุณพบคำตอบ คุณอาจค้นพบตัวเองก็ได้
2. ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า
เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิดให้คิดในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีตหรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตัวเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเองเข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า คิดไม่ชัดเจนหรือคิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ
3. ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว
1. เปลี่ยนความคิดจากทางลบ (Negative) มาเป็นทางบวก (Positive)
- ทำงานอย่างมีเป้าหมาย ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น
- ต้องรู้ระบบความคิดของตนเองก่อนว่าความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้ เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น- ตัดความคิดในทาง Negative ทิ้งแล้วใส่ความคิดในทาง Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น
2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจจากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือการสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิดทาง Negative ได้ชั่วคราว
3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใดถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากการพูดคุยกับผู้อื่น การอ่าน ต้องคิดหาตรรกะ (logic) ด้วยตนเอง ต้องเห็นด้วยตา ถ้าฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประิสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า - รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว- ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด
4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมองจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะสูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำนอกจากจะทำให้มีความสดชื่น กระตือรือร้นแล้ว เมื่อออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมองทำงาน (function) ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ สมองส่วนซ้าย ส่วนขวา และส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้สามารถใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วน ได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว
6. ควรเข้าใจการทำงานของสมองการทำงานของสมองในส่วนความจำจำทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้- ช่วงเช้า ความจำระยะสั้น
- ช่วงบ่าย ความจำระยะยาว
- ก่อนนอน ความจำเกี่ยวกับตัวเลข
4. ทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้
ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดี จากการพูดคุยหรือจากการอ่าน เป็นต้น ดังนั้น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังนี้
1. การสร้างความจำทางกายภาพสมองมนุษย์สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ภายในเวลา 1/1000 วินาที ข้อมูลที่ได้รับจะอยู่ภายในสมองครบถ้วนโดยไม่รู้ตัว เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่งมาจาก "การลืม" ทุกครั้งที่ได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน 5 นาที จะจำข้อมูลได้ 50% และถ้าผ่านไป 1 วัน จำได้ 10% จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเรา
2. การอ่านinformation if power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่ง และอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรก คือ ถามตัวเองก่อนว่า "เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้"เทคนิคในการอ่านเร็ว
1. ควรอ่านไม่มีเสียง อ่านในใจ
2. การอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา Key concept แล้วตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านหรือไม่ เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง รวมทั้งอ่านเจาะประเด็น ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาอ่านทุกหน้า
3. ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่าน คือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล โดยการพิจารณาจากความทันสมัย (update) ของข้อมูล สำนักพิมพ์ เป็นต้น
3. การฟังตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมอง ถ้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะ ๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกบันทึก (memory) ลงในสมอง ซึ่งมีกลวิธี ดังนี้
1. ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า "ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร"
3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่หรือไม่ใช่
4. การคิดคนที่ประสบ่ความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ ในเรื่องที่มีประโยชน์
2. การอ่านinformation if power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่ง และอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรก คือ ถามตัวเองก่อนว่า "เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้"เทคนิคในการอ่านเร็ว
1. ควรอ่านไม่มีเสียง อ่านในใจ
2. การอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา Key concept แล้วตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านหรือไม่ เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง รวมทั้งอ่านเจาะประเด็น ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาอ่านทุกหน้า
3. ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่าน คือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล โดยการพิจารณาจากความทันสมัย (update) ของข้อมูล สำนักพิมพ์ เป็นต้น
3. การฟังตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมอง ถ้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะ ๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกบันทึก (memory) ลงในสมอง ซึ่งมีกลวิธี ดังนี้
1. ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า "ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร"
3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่หรือไม่ใช่
4. การคิดคนที่ประสบ่ความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ ในเรื่องที่มีประโยชน์
ที่มา : สลค. สาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษฎาคม 2549
http://www.moe.go.th/check/newnaru13.htm
http://www.moe.go.th/check/newnaru13.htm
วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ประเพณีที่น่าสนใจ
งานประเพณีลอยกระทง
จัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เดือนพฤศจิกายนของทุกปี บริเวณพระราชวังสนามจันทร์ กิจกรรมที่จัด ได้แก่ การประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง การประกวดโคมแขวน และมีการละเล่นพื้นบ้าน งานประเพณีนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์
จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 12 ค่ำ ถึงแรม 4 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ และกลางคืนมีมหรสพ งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัด
จัดขึ้นที่วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 ถึงวันแรม 4 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากหน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกรผู้ผลิต มีการประกวดผลไม้ และมีมหรสพในเวลากลางคืนงานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ช้าง และประกวดราชินีช้าง
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ที่ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณแก่ช้างภายในฟาร์ม มีการการประกวดราชินีช้างของสาวหุ่นตุ้ยนุ้ย เพื่อหาผู้ที่สามารถถ่ายทอดบุคลิก ความน่ารักอ่อนโยน นุ่มนวลแบบช้าง งานเทศกาลอาหาร และผลไม้นครปฐม
จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ผลไม้ที่นิยมปลูกในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ได้แก่ กุนเชียง หมูแผ่น หมูหยอง ฯลฯ ในงานมีการประกวดโต๊ะจีน และผลไม้ต่าง ๆ งานประเพณีสงกรานต์
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 เมษายน ของทุกปี บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์มีกิจกรรม ได้แก่ การจัดตกแต่งขบวนแห่สงกรานต์ ขบวนมังกร และสิงห์โต การทำบุญสรงน้ำพระพุทธรูปพระร่วง โรจนฤทธิ์ ก่อพระเจดีย์ทราย มีมหรสพ และการละเล่นพื้นเมืองที่มาจาก http://www.tat.or.th/
สินค้าพื้นเมืองประจำจังหวัดนครปฐม
การเป่าแก้วผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของจังหวัดนครปฐม
หัตถกรรมผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของจังหวัดนครปฐม
เครื่องปั้นดินเผาผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของจังหวัดนครปฐม
อาหารและของกินพื้นเมืองผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของจังหวัดนครปฐม
ที่มาจาก http://www.tat.or.th/
ร้านจำหน่ายของที่ระลึก จังหวัดนครปฐม
กลุ่มจักสานผักตบชวานครชัยศรี
ที่อยู่ : 91 หมู่ 4 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3429 6086,0 3429 6787, 08 9818 6474
อาจารย์ละออรัตน์ (หัตถกรรมในครัวเรือนทำ-ขายในบ้าน)
ที่อยู่ : 15 หมู่ 11 ต.คลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3439 1155
คุณทิพวัน แสงอำไพ
ที่อยู่ : 83 หมู่ 2 ตำบลบางกระเบา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3433 9616, 08 9777 8346
คุณลุงเริงชัย-คุณป้าพยอม แจ่มนิยม
ที่อยู่ : บ้านลานแหลม 9/1 หมู่ 4 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3429 6086, 08 1991 6084, 08 7165 1681
ตั้งฮะเฮง
ที่อยู่ : 1/61 ถนนพระงาม 4 ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3425 6452, 0 3425 9064
กุนเชียงหมู
ที่อยู่ : 64/40 หมู่ 3 ตำบลบางกระเบา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3433 1491
วุ้นคุณอุ๊
ที่อยู่ : 71/9 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3425 7348, 0 3424 1560, 0 2881 1760
ข้าวเหนียวย่างอารีย์
ที่อยู่ : 34 ถนนทรงพล ตำบลลำพญา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3425 4619
ขนมเปี๊ยะบางเลน
ที่อยู่ : 153 หมู่ 8 ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3439 1303, 08 6606 6667
ขนมบ้านขุนแก้ว
ที่อยู่ : 60/1 หมู่ 3 ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3433 2263, 08 1558 7059 กรุงเทพฯ โทร. 0 2585 0695
ที่มาจาก http://www.tat.or.th
ที่อยู่ : 91 หมู่ 4 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3429 6086,0 3429 6787, 08 9818 6474
อาจารย์ละออรัตน์ (หัตถกรรมในครัวเรือนทำ-ขายในบ้าน)
ที่อยู่ : 15 หมู่ 11 ต.คลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3439 1155
คุณทิพวัน แสงอำไพ
ที่อยู่ : 83 หมู่ 2 ตำบลบางกระเบา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3433 9616, 08 9777 8346
คุณลุงเริงชัย-คุณป้าพยอม แจ่มนิยม
ที่อยู่ : บ้านลานแหลม 9/1 หมู่ 4 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3429 6086, 08 1991 6084, 08 7165 1681
ตั้งฮะเฮง
ที่อยู่ : 1/61 ถนนพระงาม 4 ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3425 6452, 0 3425 9064
กุนเชียงหมู
ที่อยู่ : 64/40 หมู่ 3 ตำบลบางกระเบา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3433 1491
วุ้นคุณอุ๊
ที่อยู่ : 71/9 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3425 7348, 0 3424 1560, 0 2881 1760
ข้าวเหนียวย่างอารีย์
ที่อยู่ : 34 ถนนทรงพล ตำบลลำพญา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3425 4619
ขนมเปี๊ยะบางเลน
ที่อยู่ : 153 หมู่ 8 ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3439 1303, 08 6606 6667
ขนมบ้านขุนแก้ว
ที่อยู่ : 60/1 หมู่ 3 ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมโทรศัพท์ : 0 3433 2263, 08 1558 7059 กรุงเทพฯ โทร. 0 2585 0695
ที่มาจาก http://www.tat.or.th
ร้านอาหาร จังหวัดนครปฐม
ที่อยู่ : 54 หมู่ 6 ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จ.นครปฐมโทรศัพท์ : 0 3430 1648-9,08 5374 5455website : http://www.momchailai.com/
ครัวผ่องศรี
ครัวผ่องศรี
ที่อยู่ : 57/1 หมู่ 2 ต.กำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐมโทรศัพท์ : 0 3435 1077,08 1734 1421
สมชัย (โกเท้)
สมชัย (โกเท้)
ที่อยู่ : 18/13 หมู่ 1 ต.บางภาษี อำเภอบางเลน จ.นครปฐมโทรศัพท์ : 0 3439 1535, 0 3423 6354, 0 3423 6356
นิ่มอนงค์
นิ่มอนงค์
ที่อยู่ : 93/11 หมู่ 1 ต.นครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐมโทรศัพท์ : 0 3433 1753, 0 3433 3576
คุณป้อม
คุณป้อม
ที่อยู่ : (หลังสถานีรถไฟงิ้วราย) หมู่ 3 ถ.เลียบทางรถไฟ ต.งิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐมโทรศัพท์ : 08 1457 8020, 08 6067 2286
แพสามพราน
แพสามพราน
ที่อยู่ : (ในสวนสามพราน) หมู่ 32 ถ.เพชรเกษม ต.ยายชา อำเภอสามพราน จ.นครปฐมโทรศัพท์ : 0 3432 2588-93
หูฉลามฮั่วเซ่งฮง
หูฉลามฮั่วเซ่งฮง
ที่อยู่ : 200/52-56 หมู่ 5 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา (ตรงข้าม มหาวิทยาลัยมหิดล) อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐมโทรศัพท์ : 0 2441 0695-7
ที่มาจาก http://www.tat.or.th/
สถานที่พักแรมในจังหวัด นครปฐม
คุ้มแม่น้ำท่าจีน หม่อมไฉไล
ที่อยู่ : 54 หมู่ 6 ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จ.นครปฐมโทร : 0 3430 1648-9,0 2662 0401 แฟกซ์ : 0 3430 1847website : http://www.momchailai.comจำนวนที่พัก 23 ห้อง, ราคา 4,000 - 9,000 บาท
99
ที่อยู่ : 56/57 ซ.99 ถ.เพชรเกษม อำเภอเมือง จ.นครปฐมโทร : 0 3424 3015, 0 3425 9352 จำนวนที่พัก 12 ห้อง, ราคา 160 - 300 บาท
ศูนย์พักผ่อนนครปฐม
ที่อยู่ : 145 หมู่ 5 ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จ.นครปฐมโทร : 0 3429 6967-8 จำนวนที่พัก 140 ห้อง, ราคา 500 - 1,000 บาท
แสนปาล์ม เทรนนิ่ง โฮม
ที่อยู่ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐมโทร : 0 3435 1400, 0 3435 1904, 0 2942 8004-19 ต่อ 3829 จำนวนที่พัก 133 ห้อง, ราคา 300 - 960 บาท
สุวรรณ กอล์ฟ แอนด์ คันทรี่ คลับ
ที่อยู่ : 15/3 หมู่ 2 ถนนเพชรเกษม ตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐมโทร : 0 3433 9333 แฟกซ์ : 0 3433 9451จำนวนที่พัก 11 ห้อง, ราคา 1,500 - 3,000 บาท
หาดบ้านยางรีสอร์ท
ที่อยู่ : 12/1 หมู่ 3 ริมคลองท่าสาร ตำบลทุ่งกะพังโหม อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐมโทร : 0 3428 2256 Email : haadbanyang@yahoo.co.th จำนวนที่พัก 22 ห้อง, ราคา 300 บาท
โรส การ์เด้น ริเวอร์ไซด์
ที่อยู่ : 21 หมู่ 2 ถนนเพชรเกษม ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร อำเภอสามพราน จ.นครปฐมโทร : 0 2295 3261-4 , 0 3432 2544-7, 0 3432 2588-93 แฟกซ์ : 0 3432 2775, 0 2294 6842website : http://www.rosegardenriverside.comจำนวนที่พัก 185 ห้อง, ราคา 3,600 - 28,500 บาท
ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม ศาลายา พาวิลเลี่ยน
ที่อยู่ : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐมโทร : 0 2441 0568-9 แฟกซ์ : 0 2441 0554Email : rsvn@salayapavilion.com website : http://www.salayapavilion.comจำนวนที่พัก 17 ห้อง, ราคา 2,200 - 4,400 บาท
แพศรีวิชัย
ที่อยู่ : 29/1 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑลสาย 7 ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐมโทร : 0 3433 1978 จำนวนที่พัก 3 หลัง ห้อง, ราคา 400 - 800 บาท
สหมิตร บังกะโล
ที่อยู่ : 155 หมู่ 1 ถนนสุขาภิบาล 8 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐมโทร : 0 3435 1164 จำนวนที่พัก 20 ห้อง, ราคา 180 - 360 บาท
ที่มาจาก http://www.tat.or.th
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม
ตลาดท่านา ดูรายละเอียดได้ที่
สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ ดูรายละเอียดได้ที่
www.pharmacy.mahidol.ac.th
www.pharmacy.mahidol.ac.th
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชวังสนามจันทร์) ดูรายละเอียดได้ที่
พุทธมณฑล ดูรายละเอียดได้ที่
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร ดูรายละเอียดได้ที่
ตลาดน้ำวัดลำพญา ดูรายละเอียดได้ที่
ที่มาจาก http://www.tat.or.th/
ข้อมูลการเดินทางของ จ. นครปฐม
การเดินทางจากนครปฐมไปยังจังหวัดใกล้เคียง
ราชบุรี 41 กิโลเมตร
สมุทรสาคร 48 กิโลเมตร
นนทบุรี 65 กิโลเมตร
สุพรรณบุรี 105 กิโลเมตร
กาญจนบุรี 112 กิโลเมตร
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเก่า สายถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือ เส้นทางสายใหม่ จากกรุงเทพฯ ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม
รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟไปจังหวัดนครปฐมทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 และที่สถานีรถไฟธนบุรี โทร. 0 2411 3102 หรือ http://www.railway.co.th/
รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางไปจังหวัดนครปฐม สามารถเดินทางได้จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.15 น. ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศวิ่ง 2 เส้นทาง คือ
สายเก่า (กรุงเทพฯ-อ้อมใหญ่-สามพราน-นครปฐม) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-บางลี่สายใหม่ (กรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี-นครปฐม) สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ด่านช้าง(สีน้ำเงิน) หรือ รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, สายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.00 น. รถอกทุก 15 นาที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี โทร. 0 2435 1199, 0 2435 5605, 0 2434 7192 และ นครปฐมทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2435 4971 นครปฐม โทร. 0 3424 3113 หรือที่เว็บไซต์ http://www.transport.co.th/
ที่มาจาก http://www.tat.or.th
ราชบุรี 41 กิโลเมตร
สมุทรสาคร 48 กิโลเมตร
นนทบุรี 65 กิโลเมตร
สุพรรณบุรี 105 กิโลเมตร
กาญจนบุรี 112 กิโลเมตร
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเก่า สายถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือ เส้นทางสายใหม่ จากกรุงเทพฯ ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม
รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟไปจังหวัดนครปฐมทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 และที่สถานีรถไฟธนบุรี โทร. 0 2411 3102 หรือ http://www.railway.co.th/
รถโดยสารประจำทาง
การเดินทางไปจังหวัดนครปฐม สามารถเดินทางได้จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.15 น. ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศวิ่ง 2 เส้นทาง คือ
สายเก่า (กรุงเทพฯ-อ้อมใหญ่-สามพราน-นครปฐม) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-บางลี่สายใหม่ (กรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี-นครปฐม) สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ด่านช้าง(สีน้ำเงิน) หรือ รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, สายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.00 น. รถอกทุก 15 นาที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี โทร. 0 2435 1199, 0 2435 5605, 0 2434 7192 และ นครปฐมทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2435 4971 นครปฐม โทร. 0 3424 3113 หรือที่เว็บไซต์ http://www.transport.co.th/
ที่มาจาก http://www.tat.or.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)